แบบทดสอบ

1.            ข้อใดเป็นเป็นความหมายของการศึกษาปฐมวัย
ก.     เป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง6 ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก
ข.     เป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง8 ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก
ค.     เป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่แรกเกิดจนถึง10 ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก
ง.      เป็นการศึกษาเด็กอายุตั้งแต่3ปีจนถึง6 ปีและเรียนรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กความต้องการของเด็ก
2.            พัฒนาการ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ (maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆและตัวบุคคล บ่งออกเป็น 4 ด้าน ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง
ก.     พัฒนาการด้านสติปัญญา
ข.     พัฒนาการด้านอารมณ์
ค.     พัฒนาการด้านสังคม
ง.      พัฒนาการทางด้านการศึกษา
3.            เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต ถือเป็นพัฒนาการด้านใด
ก.     พัฒนาการด้านสติปัญญา
ข.     พัฒนาการด้านอารมณ์
ค.     พัฒนาการด้านสังคม
ง.      พัฒนาการทางด้านร่างกาย
4.            เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น ถือเป็นพัฒนาการทางด้านใด
ก.     พัฒนาการด้านสติปัญญา
ข.     พัฒนาการด้านอารมณ์
ค.     พัฒนาการด้านสังคม
ง.      พัฒนาการทางด้านร่างกาย
5.             พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ขององค์ประกอบสำคัญ 2 อย่าง คือ ข้อใด
ก.     วุฒิภาวะและการแสดงออก
ข.     วุฒิภาวะและการเรียนรู้
ค.     การเรียนรู้และการดูแลของครอบครัว
ง.      การแสดงออกและการเรียนรู้
6.            สภาพแวดล้อมช่วยเสริมต่อพัฒนาการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ช่วงเวลาที่เด็กสามารถพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มที่นี้ เรียกว่า ระยะ ใด
ก.     ระยะพอดี
ข.     ระยะกึ่งกลาง
ค.     ระยะพอเหมาะ
ง.      ระยะสมดุล
7.            เด็กที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์มักเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว สามารถช่วยเหลือตนเองได้ มีอารมณ์แจ่มใส รู้จักควบคุมอารมณ์ เข้ากับผู้อื่นได้ดี และมีความสนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัว ในทางตรงกันข้ามเด็กที่มีสุขภาพไม่ดี มักประสบปัญญาด้านการเจริญเติบโตของร่างกายล่าช้า หรือหยุดชะงักชั่วขณะหนึ่ง อารมณ์หงุดหงิด”  สัมพันธ์กับข้อใดต่อไปนี้
ก.     การเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณภาพ 
ข.     ความสัมพันธ์ของพัฒนาการแต่ละด้าน 
ค.     การเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ
ง.      ลักษณะเด่นของพัฒนาการ 
8.            ข้อใดคือความหมายของ พัฒนาการด้านอารมณ์และจิตใจ 
ก.     การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางร่างกาย เริ่มต้นจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง และจากแกนกลางไปสู่ส่วนข้าง
ข.     การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึก จะพัฒนาจากการรับรู้ความรู้สึกทั่วไป ไปสู่ความรู้สึกที่ละเอียดลึกซึ้ง
ค.     การเปลี่ยนแปลงความสามารถในการติดต่อและสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่น จะพัฒนาจากความผูกพันใกล้ชิด พึ่งพาพ่อแม่หรือคนในครอบครัว ไปสู่การพึ่งตนเอง
ง.      การเปลี่ยนแปลงความสามารถทางการรู้คิด ซึ่งจะพัฒนาจากการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสและการรู้คิดเชิงรูปธรรม  ไปสู่ความเข้าใจในการใช้สัญลักษณ์ แล้วจึงรู้จักคิดเป็นนามธรรม
9.            แม้ว่าเด็กทุกคนจะมีแบบแผนของพัฒนาการเหมือนกันและพัฒนาไปในทิศทางเดียวกัน แต่ความสามารถที่จะพัฒนาให้ไปถึงจุดเดียวกันเมื่ออายุเท่ากัน อาจแตกต่างกันได้ ทั้งนี้เนื่องมาจากสิ่งใด
ก.     ระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้นหรือขัดขวางศักยภาพ การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน
ข.     ระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้น การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน
ค.     ระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็นตัวกระตุ้น การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน
ง.      ระดับวุฒิภาวะที่ถูกกำหนดโดยพันธุกรรม และประสบการณ์ที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ซึ่งจะเป็นตัวขัดขวางศักยภาพ การแสดงความสามารถของเด็กแต่ละคน
10.    ข้อใดเป็นพัฒนาการของเด็กในช่วงอายุ 6-9 เดือน
ก.     เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ
ข.     เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment)และจะติดผู้เลี้ยงดู
ค.     สามารถแยกเสียงของแม่ได้ เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้ 
ง.      เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง
11.    ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัยแบ่งเป็น2 ประเภทคือ
ก.     ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ข.     ปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยทางเศรษฐกิจ
ค.     ปัจจัยภายใน และปัจจัยทางสภาพแวดล้อม
ง.      ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก
12.    ข้อใดคือ อิทธิพลของพันธุกรรมที่มีผลต่อพัฒนาการและการเตรียมความพร้อมของเด็กปฐมวัย
ก.     ลักษณะทางกายภาพ
ข.     ระดับวุฒิภาวะ 
ค.     ความสามารถทางสมอง
ง.      ถูกทุกข้อ
13.    ข้อใดคือความหมายของปัจจัยทางสภาพแวดล้อม 
ก.     ปัจจัยภายนอกที่เป็นตัวผันแปรพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ข.     ปัจจัยภายในเป็นตัวผันแปรพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ค.     ปัจจัยภายนอกและภายในที่เป็นตัวผันแปรพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็กไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
ง.      ไม่มีข้อถูก
14.    สภาพแวดล้อมอันดับแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็กมากที่สุด คือข้อใด
ก.     สังคม
ข.     โรงเรียน
ค.     ครอบครัว
ง.      โรงพยาบาล
15.    การอบรมเลี้ยงดูเด็กในเบื้องต้น มีความสำคัญและประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร
ก.     เป็นการวางรากฐานการดำเนินชีวิตให้กับเด็ก
ข.     มีอิทธิพลต่อการสร้างบุคลิกภาพและพฤติกรรมแก่เด็ก
ค.     เป็นการวางรากฐานการดำเนินชีวิตให้กับเด็ก แต่ไม่มีอิทธิพลต่อการสร้างบุคลิกภาพและพฤติกรรมแก่เด็ก
ง.      เป็นการวางรากฐานการดำเนินชีวิตให้กับเด็ก และมีอิทธิพลต่อการสร้างบุคลิกภาพและพฤติกรรมแก่เด็ก
16.     เด็กที่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วนหรือมีภาวะทางโภชนาการบกพร่องจะเป็นเด็กที่สุขภาพเป็นอย่างไร
ก.     อ่อนแอ ภูมิต้านทางโรคต่ำ ติดเชื้อโรคได้ง่าย
ข.      ร่างกายเจริญเติบโตช้ามีสัดส่วนและสภาพร่างกายผิดปกติ
ค.     ทำให้พฤติกรรมและพัฒนาการในด้านอื่นๆผิดไปจากเด็กที่มีสุขภาพปกติ 
ง.      ถูกทุกข้อ
17.    ในช่วงปฐมวัยที่เด็กมีความสามารถในการรับรู้ เรียนรู้ และเลียนแบบสิ่งรอบตัวได้อย่างรวดเร็ว เมื่อเด็กได้รับการถ่ายทอดสิ่งใดและเป็นสิ่งที่เร้าความสนใจ เด็กมักจดจำและทำตามทันที โดยสะท้อนออกมาในรูปแบบใด
ก.     อารมณ์
ข.     ร่างกาย
ค.     คำพูดและการกระทำอย่างเด่นชัด 
ง.      ไม่มีข้อถูก
18.    พัฒนาการของเด็กปฐมวัยเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงใด
ก.     แรกเกิดถึง3 ปี
ข.     แรกเกิดถึง 3 อาทิตย์
ค.     เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนกระทั่งเข้าสู่อายุ 3-6 ปี
ง.      เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา จนกระทั่งเข้าสู่อายุ 3-6 เดือน
19.     เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีหนังสือนิทานและของเล่น รวมทั้งมีผู้ปกครองที่เอาใจใส่เล่านิทานหรือแนะนำการอ่าน มักจะมีลักษณะอย่างไร
ก.     มักจะเรียนรู้การอ่านได้อย่างรวดเร็ว กว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ข.     มักจะเรียนรู้การอ่านได้ช้า กว่าเด็กที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ค.     มักจะเรียนรู้การอ่านได้เท่ากันกับ เด็กที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
ง.      แล้วแต่บุคคล สภาพแวดล้อมไม่มีผล
20.     วิธีการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ไม่เหมาะสมย่อมทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมหรือมีปัญหาได้ เช่น เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักมีสาเหตุมาจาก
ก.     การขาดความรัก
ข.     การขาดความเอาใจใส่
ค.     การขาดการอบรมสั่งสอน ความอบอุ่นในครอบครัว
ง.      ถูกทุกข้อ


3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ควรเฉลยไว้ในข้อเลยนะคะ
    พิมพ์เฉลยไว้ในช่องความคิดเห็น....จะดีกว่าค่ะ
    ให้ผู้อ่าน ได้ลองคิดและลงมือทำบ้าง

    ตอบลบ